22 กรกฎาคม 2023 0 224

กรณีศึกษา: ภายใน 14 เดือน ก็สามารถทำรายได้ $19,263 ต่อเดือนได้ ด้วยเว็บไซต์ที่ทำคอนเทนต์สำหรับ Amazon Affiliate — กรณีศึกษา $900,000

ในบทความนี้ เราจะมาแชร์กรณีศึกษาของ เจมส์ แอคเคอร์แมน (James Ackerman) ผู้ดูแลเว็บที่ซื้อเว็บไซต์เล็กๆ มาเพื่อปรับขนาดให้ถึงจุดที่ต้องการ จนตอนนี้มันทำให้เขามีรายได้ $19,200 ต่อเดือนได้แล้วโดยใช้โปรแกรมพันธมิตรของ Amazon

เมื่อก่อนเว็บไซต์นี้เคยทำรายได้ $371 ต่อเดือน แต่เมื่อเจมส์ได้ซื้อเว็บไซต์นี้ไปแล้ว อีก 14 เดือนต่อมามันก็สามารถทำรายได้ $19,263 ต่อเดือน และจากการประเมินปัจจุบัน เขาก็สามารถกวาดรายได้ถึง $900,000 แล้ว

ในบทความนี้เราจะแบ่งปันวิธีการสร้างรายได้ของคุณเจมส์จากที่เขาเพิ่มขนาดเว็บไซต์นี้ และอธิบายกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการใช้ข้อมูลอย่างสูง ซึ่งอย่างแรก เราขอแสดงข้อมูลสถิติเกี่ยวกับบทความ ลิงค์ หน้าเว็บ และกลไกการทำงานต่างๆ ในเว็บไซต์นี้ เพื่อให้คุณลองฝึกทำตามจนสามารถประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสเกลเล็กหรือสเกลใหญ่แค่ไหนก็ตาม

การประเมินมูลค่าเนื้อหาเว็บไซต์: การเปรียบเทียบสถานะก่อนและหลังด้วย Sales Multiple

  • เมื่อก่อน: $11,130 (ที่ 30x ของ $371 ต่อเดือน)
  • ตอนนี้: $770,520 – $943,887 (ที่ 40x-49x ของ $19,263 ต่อเดือน)

ประวัติความเป็นมาของเว็บไซต์

  • Niche: การช่วยเหลือตนเอง
  • ทราฟฟิค: SEO และ โซเชียลออนไลน์
  • วิธีการสร้างรายได้: Google ads, โปรแกรมพันธมิตรสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับการช่วยเหลือตัวเอง และ Amazon eBooks
  • ประเภทเนื้อหา: คู่มือการช่วยเหลือตนเอง รีวิวหนังสือ บทความที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ฝึกสอน และผู้ที่ประสบความสำเร็จ โพสต์ลิสต์รายการ และสุขภาพจิต

ขั้นตอนที่ 1: โครงสร้างเว็บไซต์ แผนการตลาดที่เน้นการสร้างและกระจายเนื้อหา และ Semantic SEO

ในการเริ่มใช้วิธีที่เจมส์สามารถเปลี่ยนเว็บไซต์นี้ให้ประสบความสำเร็จได้ โดยเราต้องดูจากโครงสร้างเว็บไซต์ แผนการตลาดเนื้อหา และแผน Semantic SEO ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งเจมส์จะทำลายโครงสร้างเว็บไซต์ของเขาก่อน โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้:

>> หมวดหมู่/หมวดหมู่ย่อย/โพสต์

วิธีจัดระเบียบเว็บไซต์ตามโครงสร้างที่อยู่ด้านบน มีดังนี้

  • เว็บไซต์: 1
  • หมวดหมู่: 5
  • หมวดหมู่ย่อย: 27
  • หน้า: 11
  • บทความทั้งหมด (โพสต์ + หมวดหมู่ + หมวดหมู่ย่อย): 1,092 (ซึ่งรวมถึงบทความเก่าๆ ด้วยซึ่งเขาก็จะปรับปรุงให้เหมาะสม)
  • จำนวนครั้งที่ผู้ใช้งานค้นหาคีย์เวิร์ดทั้งหมดในระบบค้นหา: 710,000 ต่อเดือนที่มีทราฟฟิคที่มาจากสหรัฐอเมริกา

เคล็ดลับ: คุณต้องใช้เวลาไปกับการวางแผนการสร้างเนื้อหาอย่างละเอียดเสียก่อน ถึงแม้ในช่วงนี้คุณอาจจะคิดว่าการวางแผนเฉยๆ นั้นไม่ช่วยให้เกิดความคืบหน้าเลย แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดทิศทางและการวางแผนการดำเนินโปรเจคอย่างละเอียดก็ไม่ใช่เป็นแค่สิ่งสำคัญเท่านั้น แต่จัดว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากจริงๆ ซึ่งถ้าคุณไม่อยากโพสต์ 700 บทความในเว็บไซต์แล้ว ดังนั้นเราจะขอยืนยันเลยว่าคุณก็จะไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังแน่นอน

เพื่อสร้างความสำเร็จกับโครงสร้างเว็บไซต์นี้และแผนการสร้างเนื้อหา เจมส์แนะนำให้คุณทำตามตัวอย่างที่อยู่ด้านล่างนี้ได้เลย:

สมมติว่า เว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาใน niche ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดนตรีโดยมีจุดความสนใจหลัก อย่างเช่น วง Coldplay:

  1. หัวข้อเดียว: Coldplay
  2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง: ป้อนคีย์เวิร์ดลงใน Google และดูกราฟความรู้ (ข้อมูลแบบสรุปจะอยู่ทางด้านขวามือ) และหน้าเว็บที่มีการจัดอันดับสูงสุด แล้วจากนั้นก็ป้อนหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวง Coldplay เช่น สมาชิกที่อยู่ในวง อัลบั้ม ที่มา แนวเพลง ฯลฯ ดูคีย์เวิร์ดตรงที่ด้านล่างของรายการนี้ เพื่อดูวิธีทำอย่างรวดเร็ว
  3. ในแต่ละหัวข้อหลักจะเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ เช่น "สมาชิกวง" ควรใช้ URL : site.com/band/members
  4. ในแต่ละหัวข้อย่อยก็จะเป็นหมวดหมู่ย่อย เช่น ชื่อสมาชิกในวงเช่น คริส มาร์ติน หรือ Jonny Buckland ดังนั้นควรใช้ URL: Site.com/band-members/chris-martin
  5. ทำรายการคีย์เวิร์ดทั้งหมดให้กับแต่ละหมวดหมู่ย่อย เช่น คริส มาร์ติน ไปที่ Ahrefs > Keyword Explorer > ป้อน "คริส มาร์ติน" > เลือกภูมิภาค > ดาวน์โหลดไฟล์ CSV ที่มีคีย์เวิร์ดทั้งหมด: > เรียงลำดับเพื่อลบคำที่ซ้ำกันและคำที่ไม่จำเป็นออกไป (เช่นคุณจะลบคีย์เวิร์ดที่ไม่ใช่ คริส มาร์ติน คนที่ไม่เกี่ยวกับวง Coldplay เลย) นอกจากนี้คุณยังต้องจัดกลุ่มคำที่คล้ายคลึงกันเพื่อป้องกันการแย่งกัน ตัวอย่างเช่น "คริส มาร์ตินมาจากไหน" และ "คริส มาร์ตินมาจากที่ไหน" ซึ่งเป็นประโยคที่มีความหมายเดียวกัน ดังนั้นเราจึงทำให้มีบทความเดียวที่กำหนดเป้าหมายทั้งสองอย่าง โปรดทราบว่านี่จะเป็นกระบวนการที่น่าเบื่อและใช้เวลานานที่สุด
  6. คีย์เวิร์ดแต่ละคำนั้นจะถูกกำหนดให้กับหมวดหมู่ย่อย (ตัวอย่างเช่น คริส มาร์ติน) ซึ่งจะเป็นหมวดหมู่หลัก และหมวดหมู่อื่น (สมาชิกวงดนตรี) ซึ่งจะเป็นหมวดหมู่รอง โดยคุณจะทำแบบนี้เมื่อตอนที่คุณอัปโหลดโพสต์ไปยัง WordPress และมีตัวเลือกให้เลือกหมวดหมู่

หมายเหตุ: ในการนำข้อมูลออกมาจาก Ahrefs, เจมส์บอกว่า เขาเองก็เคยทำด้วยตนเองมาแล้ว แต่ตอนนี้เขาหันมาใช้ Inlink แทน แค่สรุปเนื้อหา ป้อนคีย์เวิร์ด เลือกภูมิภาค และเครื่องมือนี้สามารถช่วยแบ่งปันกลุ่มหัวข้อต่างๆ พร้อมกับความตั้งใจของผู้ใช้ (อะไร, เมื่อไหร่, ทำไม, ฯลฯ)

เพจ (Pages)

ในการเริ่มต้น คุณสามารถเลือกสิ่งที่เมื่อไหร่ทำไมและที่ไหนรวมถึงเจตนาอื่นๆที่แนะนำโดยลิงค์เชื่อมโยง:

  • อะไร: Coldplay คืออะไร และ สามารถข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไหน?
  • ใคร: ข้อมูลสมาชิกของโคลด์เพลย์
  • เมื่อไหร่: วันที่ก่อตั้งวง วันที่จัดคอนเสิร์ต ฯลฯ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ที่ไหน: สถานที่ก่อตั้งวงและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
  • อย่างไร: การเดินทางของวง Coldplay และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

โฮมเพจ (Homepage):

  • ทำหน้าที่เชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บหมวดหมู่และหมวดหมู่ย่อยทั้งหมด
  • ในทุกๆ เพจ โพสต์ หมวดหมู่ และหมวดหมู่ย่อยจะคลิกสูงสุดได้สองครั้งจากโฮมเพจ

โดยทำตามตัวอย่างนี้ เจมส์บอกว่า คุณสามารถสร้างโครงสร้างเนื้อหาที่ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีการจัดอันดับสูงขึ้นและได้รับการเยอะขึ้น เขากล่าวว่ามันอาจจะเป็นเรื่องน่าเบื่อตอนแรก แต่มันก็คุ้มค่าแน่นอน

ขั้นตอนที่ 2: แนวทางการสร้างเนื้อหา

เจมส์มีทีมนักเขียนภายในองค์กรที่ปฏิบัติตามแนวทางการสร้างเนื้อหาที่ได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว ซึ่งแนวทางเหล่านี้ก็เป็นคำแนะนำที่จะมาช่วยให้การทำงานในโครงสร้างนี้สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

มีอยู่ไม่กี่สิ่งที่นักเขียนจะได้รับเซสชั่นที่เฉพาะเจาะจงคือ:

  • โทนของบทความ
  • เทมเพลต
  • คำแนะนำในการจัดรูปแบบ
  • โครงสร้างของบทความ
  • โฟลว์
  • หัวข้อเรื่อง
  • รายการ
  • ตาราง
  • วิธีการเขียนเพื่อได้รับการแสดงผลใน "Featured Snippets"
  • อื่นๆ
  • แนวทาง SurferSEO (สำคัญมาก)
  • ช่วงของคำ

แนวทางการใช้ SurferSEO

เจมส์บอกว่า เขาจะเน้นใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์อย่างสูงและศึกษาเว็บไซต์ของคู่แข่งเพื่อสร้างกลยุทธ์ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้นในเครื่องมือการค้นหา:

  • เข้าไปที่ SurferSEO
  • เลือกคู่แข่งที่มีติดอันดับสูงๆ และจะต้องมีคีย์เวิร์ดแต่ละคำที่เกี่ยวข้องด้วย
  • ทำแนวทางการสร้างเนื้อหา (จำนวนคำ คีย์เวิร์ดที่จะรวบรวม ความหนาแน่น รูปแบบ ฯลฯ)
  • เชื่อมต่อคำแนะนำเหล่านี้กับ Google Docs โดยใช้ส่วนขยาย SurferSEO
  • มอบหมายงานให้กับนักเขียน และให้อนุมัติเฉพาะบทความที่มีคุณภาพที่ตรงตามมาตรฐานของทีมเท่านั้น

ในขั้นตอนนี้เขาไม่ได้มีแค่การวางแผน/กรอบแนวคิดกับเว็บไซต์นี้เท่านั้น เขาก็ยังรวมโฮมเพจ หมวดหมู่ หมวดหมู่ย่อย โพสต์ และ URL ของแต่ละเพจ พร้อมให้คำแนะนำสุดแม่นยำเกี่ยวกับวิธีการเขียนแต่ละหน้าเพจในแง่ของ จำนวนคำ, คีย์เวิร์ดที่จะใช้, ความหนาแน่น, H1, ชื่อ SEO, และเมต้า SEO

"ผมอยากจะแนะนำให้ควรมีการเตรียมความพร้อมมาดีๆ ก่อนที่จะเริ่มทำโปรเจคที่ใหญ่กว่านี้" เพราะแนวทางการสร้างเนื้อหานี้จะช่วยได้ทั้งการประมาณค่าใช้จ่าย การกำหนดระยะเวลา การสร้างทีม การสร้างระบบการมอบหมายงาน ขั้นตอนการตรวจสอบผลงานที่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และแนวทางอื่นๆอีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณมีโปรเจคขนาดเล็ก ผมก็ขอแนะนำให้ทำตามแนวทางทั้งหมดนี้อย่างน้อย 80% ของแนวทางที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้น เจมส์ได้กล่าวไว้

ขั้นตอนที่ 3: การผลิตเนื้อหา

เจมส์และทีมนักเขียนของเขาเริ่มผลิตเนื้อหาโดยได้ยึดตามแนวทางที่พวกเขาวางไว้เป็นอย่างดี จึงทำให้พวกเขาสามารถผลิตผลงานได้ประมาณ 1,000 หน้า ภายในระยะเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น

สรุปเนื้อหาที่ผลิตได้:

  • 1,049 บทความใหม่
  • จำนวนคำทั้งหมด: 1,828,407
  • จำนวนคำเฉลี่ยต่อบทความ: 1,743

ขั้นตอนที่ 4: อัปโหลด, จัดรูปแบบ, ปรับแต่งที่อยู่บนเว็บไซต์ และเผยแพร่

  • เนื้อหานี้เขียนไว้บน Google Docs ที่ถูกรวบรวมเข้ากับส่วนขยาย SurferSEO
  • เนื้อหาจาก Google Docs สำหรับแต่ละบทความจะมีการกำหนดเป้าหมายคีย์เวิร์ดหนึ่งคำ
  • อัปโหลดไปยัง WordPress
  • จัดรูปแบบ (เพื่อเพิ่มอัตราคอนเวอร์ชั่น และยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น)
  •  ปรับแต่งที่อยู่บนเว็บไซต์ (H1, ชื่อ, คำอธิบาย, แท็ก, หมวดหมู่) (2 ภาพขึ้นไป, คำอธิบายรูปภาพที่ได้แทรกอยู่ใน HTML Code ของเว็บไซต์และอื่นๆ)
  • Schema ก็สำคัญ (พวกเขาจะเพิ่มรูปแบบของ Schema ลงไปในไซต์ด้วยตนเอง แทนที่จะใช้ปลั๊กอินที่มีอยู่ เพราะว่าปลั๊กอินบางตัวอาจมีข้อบกพร่องเมื่อใช้งานบ่อยเกินไป)
  • Interlinking: จะขึ้นอยู่กับข้อมูลจากแผนของเว็บไซต์ ซึ่งถ้าหากมีการใช้ interlinks ที่มีความหมายและเข้ากับบริบทของบทความที่เกี่ยวข้องหมวดหมู่ย่อย หมวดหมู่หลัก โฮมเพจ ฯลฯ หลีกเลี่ยงการเพิ่มประสิทธิภาพที่มากจนเกินไป ซึ่งถ้าหากคุณซื้อแพคเกจของ INLINKS คุณก็จะสามารถใช้โค้ด JSON และจะมีการเพิ่ม schema และ internal links ให้โดยอัตโนมัติ (การสละสิทธิ์: มันไม่ถูกต้องเสมอไป ดังนั้นแล้วคุณก็จะต้องตรวจสอบอีกครั้ง) พวกเราเคยทำตามขั้นตอนทั้งหมดนี้เองแล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราก็เริ่มใช้งานเครื่องมือในการสร้างลิงค์ภายใน (in-links) อยู่ ซึ่งเครื่องมือนี้ยังมีปัญหาอยู่หลายอย่าง แต่มันก็ยังดีกว่าการทำทุกอย่างด้วยวิธีการทำด้วยตัวเอง

เจมส์บอกว่า คุณสามารถใช้ปลั๊กอิน Link Whisper เพื่อที่จะเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ได้

เขายังอธิบายเสริมมาอีกว่า คุณควรเผยแพร่เนื้อหาของคุณด้วยความรวดเร็วและมีความถี่อย่างเป็นประจำ เพียงแค่คุณยังคงรักษาคุณภาพของเนื้อหาอย่างดีๆ พอเมื่อคุณเผยแพร่เนื้อหาทั้งหมดในแผนเสร็จแล้ว จากนั้นก็โพสต์บทความ 2-3 บทความต่อสัปดาห์ และกำหนดเวลาเผยแพร่ ซึ่งสเต็ปนี้จะช่วยให้อัลกอริทึมของ Google เห็นว่าเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและมีความสดใหม่ด้วย

และคุณควรอัปเดตเนื้อหาเก่าเสมอ เพราะวิธีนี้ก็จะช่วยในการรักษาอันดับได้

"อีกเคล็ดลับง่ายๆ สำหรับคนที่มีแผนที่จะซื้อเว็บไซต์: หากคุณสังเกตเห็นว่า เว็บไซต์ที่คุณต้องการนั้นมีเนื้อหาที่ล้าสมัยเยอะจนเกินไป หรือมีอายุนานเกินไปได้ ซึ่งผมขอบอกเลยว่าเว็บไซต์แบบนี้น่าสนใจมาก หากคุณได้ซื้อมาแล้ว คุณก็จะสามารถอัปเดตเนื้อหาและอายุของมันได้ แค่นี้ทราฟฟิคจะเพิ่มขึ้นทันที เราได้ทดสอบโดยใช้วิธีนี้กับเว็บไซต์มากกว่า 7 แห่ง และมันได้ผลราวกับเวทมนตร์เลย"

ขั้นตอนที่ 5: Backlinks (Cleaning Up)

การวิเคราะห์

เจมส์พบว่า บริเวณนั้นมีลิงค์ย้อนกลับที่ไม่ดี (toxic backlink) จำนวนมาก นอกจากนี้เจ้าของเว็บไซต์ยังได้สั่งซื้อลิงค์จากเว็บไซต์ต่างๆ อย่างเช่น Fiverr ในอดีต

"เราสังเกตเห็นว่า ลิงค์ที่ไม่ดีมักสร้างความเสียหายมากกว่าประโยชน์ ดังนั้นเราจึงตัดสินใจกำจัดลิงค์พวกนี้"

การดำเนินการ

  • เข้าสู่ระบบ Ahrefs
  • ป้อน URL เว็บไซต์ที่ต้องการวิเคราะห์
  • ดึงข้อมูลเกี่ยวกับ backlinks ของเว็บไซต์
  • กรองเอาเฉพาะ backlinks ที่มีค่า DR มากกว่าหรือเท่ากับ 10
  • ส่งออกรายการ backlinks ที่ผ่านการกรองไปยังไฟล์
  • ตรวจสอบลิงค์ที่ส่งออกแล้ว เพื่อตรวจสอบลิงค์ที่ไม่ดีหรือสแปม (อาจมีค่า DR สูง)
  • เพิ่มลิงค์ที่ไม่ดีหรือสแปมจะเข้ากับรายการลิงค์ที่คุณได้ส่งออกไปก่อนหน้านี้
  • สร้างรายการลิงค์ที่เสียหายอีกที
  • เข้าสู่ Google Search Console
  • ส่งรายการลิงค์ไปยังเครื่องมือ disavow
  • ส่ง Sitemap อีกครั้ง (เพื่อประกันความปลอดภัย)
  • ให้เวลาสักไม่กี่วันให้การเปลี่ยนแปลงนี้สร้างผลลัพธ์

เจมส์บอกว่า เค้าเพิ่งจะมารู้ทีหลังว่า ขั้นตอนนี้เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อเว็บไซต์อื่นๆ ของเขาด้วย และเขาแน่นอนว่าแนะนำให้ทำขั้นตอนนี้

ถึงแม้ว่าคุณจะไม่สนใจสแปม แต่เว็บไซต์ก็มีโปรไฟล์ลิงค์ย้อนกลับที่แข็งแกร่ง โดยจะมีทีมงานที่คอยดูแลลิงค์ที่ไม่ดี และลิงค์ที่เหลือในโปรไฟล์ก็ยังคงมีความสมดุลและไม่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหา จากนั้นพวกเขาก็ตัดสินใจที่จะไม่ใช้ความพยายามมากนักโดยเฉพาะในการสร้างลิงค์ อย่างไรก็ตามพวกเขาจะสร้างลิงค์ตามธรรมชาติและตามกลยุทธ์

ขั้นตอนที่ 6: ทักษะความรู้ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และความไว้วางใจ (E.A.T)

Google ให้ความสำคัญกับทักษะความรู้ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และความไว้วางใจเป็นอย่างมาก ซึ่งเนื้อหาของคุณควรได้รับการทดสอบมาอย่างละเอียด ได้รับการวิจัยและรับรองโดยผู้คนที่มีความน่าเชื่อถือและเชี่ยวชาญในเนื้อหาของคุณ

เจมส์บอกว่าเขาจริงจังกับเรื่องนี้มากๆ ดังนั้นเขาจึงขอให้ทีมงานปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้:

  • ส่งออกรายชื่อเว็บไซต์ด้านการช่วยเหลือยอดนิยม
  • คัดเลือกนักเขียนที่ดีที่สุดของแต่ละเว็บไซต์
  • เข้าถึงที่อยู่อีเมลของพวกเขา
  • ส่งอีเมลถึงนักเขียนทุกคนและทำข้อตกลงเกี่ยวกับรายละเอียดการโพสต์บนเว็บไซต์ของเรา

ส่วนนักเขียนจะถูกขอให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้:

  • เขียนบทความ 3 บทความแต่ละบทความและโพสต์เข้าไปในช่วงเวลาที่แยกกัน
  • โพสต์ในแต่ละช่องทางของโซเชียลของพวกเขา (LinkedIn, Twitter, Facebook, เป็นต้น) พร้อมกับคำบรรยายที่สร้างความสนใจ
  • แชร์ทุกโพสต์ลงไปในโปรไฟล์โซเชียลของพวกเขาด้วย

เจมส์เพิ่มนักเขียนเหล่านั้นในหน้าโฮมเพจและหน้าเพจที่ใช้สำหรับแนะนำตัวทีมงานในเว็บไซต์ เขายังเพิ่มช่องทางโซเชียลของเหล่านักเขียนพร้อมกับรายละเอียดและแสดงภาพหน้าตาของพวกเขาในแต่ละโพสต์อีกด้วย

เงื่อนไขทั้งหมดนี้ได้รับการสรุปก่อนที่พวกเขาจะเริ่มดำเนินงาน

เจมส์บอกว่า เขาได้รับผลลัพธ์สุดปังมาก! มันเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สร้างผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าวิธีอื่นๆ ในการเคลื่อนไหวเป้าหมายของโปรเจคนี้ โดยเขาได้มีผู้เชี่ยวชาญจริงๆ มาเข้าร่วมในโปรเจคนี้ด้วย ซึ่งเจมส์ไม่เพียงแต่ได้รับลิงค์จากเครือข่ายโซเชียลของพวกเขา แต่ยังมีผู้คนจำนวนมากที่กดติดตามพวกเขาหลังจากที่ได้แชร์เว็บไซต์นี้

ดังนั้นเขาจึงมีลิงค์ย้อนกลับคุณภาพสูงๆ จำนวนมาก ซึ่งช่วยให้เว็บไซต์เกิดความน่าเชื่อถือและเพิ่มชื่อเสียงได้อย่างดีเลยทีเดียว

ขั้นตอนที่ 7: การเพิ่มประสิทธิภาพอัตราคอนเวอร์ชั่น(CRO)

เจมส์บอกว่า เขาได้เพิ่มประสิทธิภาพของอัตราคอนเวอร์ชั่นในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เขาได้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับ 43 บทความแรก โดยขั้นตอนต่อไป เขาจะเริ่มเพิ่มประสิทธิภาพของบทความเมื่อทุกอย่างได้มีการเผยแพร่ไปแล้ว

ไทม์ไลน์:

  • เดือนที่ 1: ออกแบบเว็บไซต์ + แก้ไขข้อบกพร่อง + CRO
  • เดือนที่ 2-6: ผลิตและเผยแพร่เนื้อหาเป็นจำนวนมาก
  • เดือนที่ 7: ตรวจสอบดัชนีซ้ำ ทำประกันคุณภาพ (อีกครั้ง) งานผู้ดูแลระบบ ฯลฯ
  • เดือนที่ 8 และอื่นๆ: ปรับปรุง CRO, ตรวจสอบเนื้อหา, สร้างเนื้อหา, และแก้ไขวนไป รวมถึงอัปโหลดเนื้อหารายเดือนของผู้เชี่ยวชาญ

เขาได้เปลี่ยนแปลงอะไรกับเว็บไซต์นี้อีกบ้าง?

  • ลบรูปภาพที่มีลักษณะเด่นออกแล้ว ถึงแม้ว่ามันยังคงมีอยู่ แต่เราก็สามารถหยุดแสดงมันได้ ซึ่งวิธีนี้เนื้อหาจะถูกเลื่อนขึ้นมาอยู่ที่บนหน้าเว็บไซต์และจะมีพื้นที่เพิ่มมากขึ้นในการแสดงโฆษณา เนื้อหา และคำกระตุ้นการตัดสินใจ นี่เป็นการเพิ่มอัตราคอนเวอร์ชั่น
  • H1 จะปรากฏที่ด้านบนของหน้าเพจภายใต้เมนูนำทาง
  • ส่วนพื้นที่ภายใต้ H1 เขาจะเพิ่มชื่อนักเขียนและอัปเดตวันที่ (ไม่มีอยู่) สิ่งนี้จะเพิ่มความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจกับเว็บไซต์ได้
  • ย่อหน้าด่วน (ข้อความที่เขียนไว้ก่อนหน้านั้นยาวเกินไปและไม่สำคัญต่อเนื้อหาหลัก) ในกรณีนี้มีความสำคัญมากต่อการเขียนข้อความโฆษณา
  • สารบัญเนื้อหา (ไม่ได้อยู่ที่นั่น) เขาเพิ่มเพื่อให้การนำทางและการเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่าง ๆ ในเนื้อหามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เพิ่มตารางการเรียกใช้การทำงานอย่างรวดเร็ว ที่แสดงผลผลิตภัณฑ์ยอดนิยมพร้อมกับลิงค์ Affiliate ในรูปแบบปุ่ม นอกจากนี้ เขายังรวมผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในบทความข้อมูล เพื่อให้เห็นความสำคัญ และผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ
  • การใช้สีของปุ่มของ CTA ก็สำคัญ เขาใช้วงล้อโดยเลือกสีตรงข้ามกับแบรนด์หลักหรือธีมของไซต์บนวงล้อ ด้วยวิธีนี้จะทำให้มองสีเด่นชัดขึ้นและเพิ่มจำนวนคลิกอีกด้วย
  • แถบด้านข้างพร้อมวิดเจ็ตแบบติดหนึบที่แสดงโฆษณาที่เหมาะสม (ไม่มีแถบด้านข้าง) จากที่เว็บไซต์เดิมจะมีความกว้างเต็มโดยไม่มีแถบด้านข้าง

โดยทั้งหมดนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

ในขณะนี้เว็บไซต์นี้กำลังอยู่ในจุดไหน

ในเดือนสิงหาคม 2022 เว็บไซต์นี้สามารถทำรายได้ $20,000 โดยมีผู้เยี่ยมชมเข้ามาที่เว็บไซต์มากกว่า 160,000 ครั้ง โดยเว็บไซต์นี้ก็ยังคงมีการเติบโตขึ้นอยู่เรื่อยๆ เจมส์ยังบอกว่า เขาค่อนข้างมีความสุขกับผลลัพธ์ที่ได้มานี้

เขาค่อนข้างโชคดีที่ได้เข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งและได้มีโอกาสฟื้นฟูโปรเจคที่มีศักยภาพ ด้วยวิกฤต COVID-19 รวมถึงวิกฤตทางเศรษฐกิจ จึงทำให้ง่ายต่อการทำผลลัพธ์ที่น่าคาดหวัง

แผนการวางมือ

เจมส์ได้บอกกับเราว่า ในตอนนี้เขากำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะปั้นเว็บไซต์ให้เติบโตต่อไปเรื่อยๆดีมั้ย หรือว่าจะขายเว็บไซต์เลย ซึ่งถ้าหากคุณสามารถทำรายได้ 7 หลักต่อเดือนได้แล้ว คุณก็ควรที่จะลำดับความสำคัญในการทำงานของคุณว่าจะวางมือหรืออยู่ทำต่อ

มีโอกาสที่เจมส์จะขยายโปรเจคนี้ต่อไปให้โตยิ่งขึ้นต่อไป โดยเขาจะเพิ่มคอร์สฝึกอบรมในการแนะนำสำหรับโค้ชและผู้ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาตนเอง และขยายธุรกิจนี้ต่อไป

"ส่วนใหญ่เราจะใช้เวลาทำงานเพื่อขยายตัวธุรกิจนี้และก็ยังไม่มีแผนที่จะทำอย่างอื่นเลย" จากที่เราได้คำนวณฐานผู้เข้าชมที่เพิ่มมากขึ้นและวิธีการสร้างรายได้แล้ว เราจึงคาดการณ์ได้ว่า มันมีโอกาสที่จะสร้างรายได้มากกว่า $50,000 ต่อเดือนในอีก 4 ปีข้างหน้าได้

หากเริ่มทำโปรเจคตั้งแต่ตอนนี้ก็จะคืนทุนภายใน 1.5 ปีและหลังจากนั้นก็เป็นกำไรทั้งหมด โดยเราตั้งใจที่จะลงทุนใหม่กับทุกอย่าง เพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งในขณะนี้

เราเพียงแค่ลองคำนวณและการคาดการณ์เท่านั้น "อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะยังไม่ได้เริ่มทำอะไรเลย แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นคุ้มค่ากว่าทางเลือกการลงทุนประเภทอื่นๆ แน่นอน" เจมส์ได้กล่าวไว้

สรุป

เจมส์ แอคเคอร์แมน ได้ซื้อเว็บไซต์นี้และสมัยที่มันยังทำรายได้ $371 ต่อเดือน จนเติบโตมามีรายได้ $19,263 ต่อเดือน แน่นอนว่าเขาตัดสินใจที่จะซื้อเว็บไซต์นี้ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่ด้วยการวางแผนการขยายธุรกิจที่คำนวณมาอย่างดีแล้ว ดังนั้นเจมส์จึงสามารถทำรายได้มากถึง 5 หลัก

เว็บไซต์นี้ยังมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก เพราะยังช่องทางการสร้างรายได้อื่นๆ เหลืออยู่อีกหลายตัวเลือก อย่าง เช่น เปิดแชนแนล Youtube สำหรับเว็บไซต์หลักสูตรผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ทำเนื้อหาสำหรับสปอนเซอร์ และตัวเลือกอื่นๆ อีกมากมายที่ยังไม่มีการริเริ่ม ดังนั้นเว็บไซต์นี้สามารถเติบโตจนมีมูลค่า 7 หลักได้อย่างสบายๆ เลย

"การลงทุนกับเว็บไซต์จัดว่ามีความเสี่ยงอยู่นะ แต่ถ้าหากมีรูปแบบที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว มันจึงช่วยลดความเสี่ยงลงไปเยอะเลย" เจมส์ได้กล่าวไว้

เราหวังว่ากรณีศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ ซึ่งคุณจะสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ในโปรเจคของคุณเองได้เลยนะ หากคุณมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับพวกเขา คุณก็สามารถคอมเมนท์มาที่ด้านล่างนี้ได้เลย

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้?
#เวบไซตดานเนอหา