30 ตุลาคม 2022 0 309

ทำไม Google ต้องเขียนทับหัวข้อหน้าเว็บไซต์ของคุณใหม่ และจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร

มีโอกาสถึง 61% ที่ Google จะเขียนเนื้อหาใหม่บนชื่อเรื่องของหน้าเพจคุณบนผลการค้นหาของ Google ชื่อเรื่องเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของอัลกอลิทึ่ม ที่โดยทั่วไปแล้วชื่่อเรื่องเป็นสิ่งแรกที่ผู้ใช้เห็นในผลลัพธ์ของการค้นหา ซึ่งมันจะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออัตราการคลิกผ่านเว็บไซต์

ย้อนกลับไปในอดีต โดยทั่วไปแล้ว Google มักจะใช้แท็กชื่อเรื่องของเพจในผลการค้นหา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มักจะมีขนาดเล็ก แต่เน้นไปที่ความยาว หรือความเกี่ยวข้องเนื้อหา 

บ่อยครั้งที่เจ้าของเว็บไซต์พบว่าชื่อเรื่องที่ตัวเองทำมาโดน Google เขียนทับใหม่ลงไป ผ่านเครื่องมือการวิเคราะห์หัวข้อของทีม Zyppy ที่สามารถระบุได้ว่า เกิดจากสาเหตุอะไรที่ Google ต้องเขียนทับหัวข้อใหม่

พวกเขาวิเคราะห์ชื่อเรื่องมากกว่า 80,000 รายการจากเว็บไซต์ 2 370 แห่ง และเปรียบเทียบกับผลลัพธ์บนเดสก์ท็อปของ Google จากการวิเคราะห์กว่า 80,000 รายการ Google เขียนใหม่ 61.6% ในจำนวนทั้งหมด โดยทั่วไปการศึกษานี้เห็นด้วยกับการศึกษาก่อนหน้านี้โดย Dr. Pete Meyers และอีกเรื่องโดย Rylko

เหตุผลที่ Google ต้องเขียนทับหัวข้อในหน้าเพจของคุณใหม่ ก็เพราะว่าทาง Google เองมีความเชื่อว่า อัลกอลิทึ่มของ Google สามารถตรวจสอบคุณภาพหัวเรื่องของคุณได้ โดยปกติแล้ว จะมีการเปลี่ยนข้อความหัวกระดาษด้านล่างนี้ :

  •  ความยาว: ส่วนมากจะเป็นชื่อเรื่องที่ยาวเกินไป หรือสั้นเกินไป
  •  ใช้คีย์เวิร์ดมากกว่า 1 ตัว
  •  ใช้ตัวขั้นระหว่างหัวข้อเรื่อง อย่างเช่น เครื่องหมาย ยัติภังค์ หรือ ขีดกลาง (dashes)  “-“ หรือ ไพป์ (pipe) หรือ ขีดตั้ง “│”
  •  ชื่อเรื่องที่มี วงเล็บเหลี่ยม หรือวงเล็บก้ามปู [ ] หรือ นขลิขิต หรือ วงเล็บ ( )
  •  ใช้แม่แบบเดียวกันในหลายหัวข้อ
  •  เหมือนกันชื่อแบรนด์ที่ขาดหายไป หรือใช้คำซ้ำซ้อน


เหตุการณ์ทั่วไป 3 ประการที่กระตุ้นให้ Google เขียนชื่อเรื่องของคุณใหม่ ได้แก่:

  • ความยาวของชื่อเรื่อง
  • นขลิขิต วงเล็บ ( ) / วงเล็บก้ามปู หรือวงเล็บเหลี่ยม [ ]
  • ตัวคั่น

ความยาวของชื่อเรื่อง
 

โดยปรกติแล้ว Google จะจำกัดชื่อไว้ที่ 650 พิกเซล สำหรับการค้นหาบนเดสก์ท็อป  (มักจะมากกว่าเล็กน้อยสำหรับผลการค้นหาบนมือถือ) โดยทั่วไปแล้ววงรีจะใช้เพื่อตัดชื่อที่ยาวกว่านี้ (...)

หรืออีกทางหนึ่งที่ Google ใช้เขียนทับใหม่ สำหรับชื่อที่สั้นเกินไป

ทางที Zyppy ได้ทำการคำนวณจากความน่าจะเป็นไปได้ Google ในการเขียนทับใหม่ทุกชื่อทั้งหมด 80,959 หัวข้อ จากการนับจำนวนแต่ละตัวอักษร ขื่อเรื่องมากกว่า 95% ที่ Google จะทำการเขียนทับใหม่อยู่สองอย่างคือ หัวข้อใหญ่เกินไป หรือ สั้นมากจนเกินไป อย่างภาพแสดงเส้นกราฟด้านล่าง

 

ชื่อเรื่องสั้นที่มีแค่ 1-5 ตัวอักษร ( ตัวอย่างเช่น, “Home” หรือ “IBM” ส่วนมากมักจะถูกเขียนทับใหม่ถึง 96%  อันที่จริง ปรกติมักจะเพิ่มคำหรือข้อมูล ไม่ว่าหัวข้อใดๆ จะต้องไม่เกิน 20 ตัวอักษร ถ้าชื่อใดๆ มีอักษระที่น้อยกว่า โอกาสที่ถูกแก้ไขใหม่มีสูุงถึง 50%

ในทางกลับกัน ชื่อเรื่องที่ยาวที่มีอักขระมากกว่า 70 ตัว มีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ถึง 99.9% ของช่วงเวลานั้นทั้งหมด ชื่อที่มีอักขระมากกว่า 60 ตัวมีโอกาสมากกว่า 76% ในการถูกเปลี่ยนแปลง

“Sweet spot” หรือจุดที่น่าสนใจ ดูเหมือนว่าตัวอักษรระหว่าง 51 และ 60 ตัวอักษร พวกชื่อเรื่องเหล่านี้มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากที่จะถูกเขียนใหม่ ต้องมีระดับต่ำสุดตั้งแต่ 39% ถึง 42%

 หมายเหตุ: เพียงเพราะ Google ไม่แสดงคำบางคำจากแท็กชื่อของคุณในผลการค้นหา ไม่ได้หมายความว่าคำเหล่านั้นไม่ได้ช่วยให้คุณติดอันดับเสมอไป อันที่จริงแล้วนี่เป็นกระบวนการสองขั้นตอนที่แยกจากกัน

หรือ Google ชอบ [วงเล็บ] หรือ (วงเล็บ) แบบไหนมากกว่ากัน?
 

คุณมักจะเห็น Google ใช้ประโยชน์ทั้งสอง วงเล็บ [ ] วงเล็บ ( ) ตัวอย่างเช่น:

  •  จัดอันดับทีวี ที่มีผู้ชมมากที่สุด โดยผู้เชี่ยวชาญ [อัพเดท ปี 2022]
  •  6 วิธีในการแก้ปัญหา Wordle (ห้ามใช้ +2 มันไม่ได้ผล)

นี่เป็นวิธีการทั่วไปที่จะช่วยให้แนวคิดและคำศัพท์โดดเด่นในการค้นหาที่ยุ่งเหยิงนี้

อันที่จริง วงเล็บ [ ] หรือ วงเล็บ ( ) สามารถที่จะเปลี่ยนใช้แทนกันได้ แต่จากการวิเคราะห์ของ Zyppy ดูเหมือนว่า Google จะให้ความสำคัญกับวงเล็บเหล่านี้ในวิธีที่แตกต่างกัน

สำหรับหน้าเพจที่มีวงเล็บเหลี่ยม [ ] มีโอกาสถึง 76 % ที่จะโดน Google เขียนทับแน่นอน และไม่เพียงแค่นั้นอีก 32.9%  ที่ Google ยังลบข้อความที่อยู่ในวงเล็บเหลี่ยม [ ] ออกอีกด้วย

ชื่อเรื่องที่พูดถึงนั้นมีหน้าตาอย่างนี้:

“จะซ่อมหน้าจอแตกของ IPhone ได้อย่างไร [ผ่านการทดสอบ โดย ผู้เชี่ยวชาญ] - ช่างซ่อมโทรศัพท์”

แต่เดี๋ยวนี้ จะเจอข้อความแบบนี้ถึง 32.9% ในช่องค้นหาของ Google

“จะซ่อมหน้าจอแตกของ IPhone ได้อย่างไร – ช่างช่อมโทรศัพท์”

แต่ในอีกแง่หนึ่ง ข้อความที่อยู่ในวงเล็บก็ดูดีขึ้นมากกว่า และคำนวณออกมาได้ถึง 61.9% ที่ Google มักจะเขียนชื่อเรื่องเหล่านี้ใหม่ ซึ่งเกือบเท่ากับชื่ออื่นๆ ทั้งหมด และในช่วงเวลานั้น Google ได้ลบในส่วนของข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ( ) นี้เพียงแค่ 19.7% ซึ่งน้อยมาก น้อยกว่าถึง 32.9% ที่เห็นในวงเล็บแบบเหลี่ยม [ ]
 

กล่าวได้อีกนัยหนึ่ง ถ้าคุณต้องการที่จะเน้นข้อความในหัวข้อให้ดีที่สุดคือการใช้วงเล็บ ( ) เพราะ Google ไม่น่าที่จะลบส่วนของข้อความนั้นทิ้ง

Google ชอบใช้ตัวคั่นชื่อเรื่องแบบไหน?
 

ตัวคั่นชื่อเรื่องเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายวรรคตอนทั่วไป ที่ใช้เพื่อแบ่งแยกชื่อเรื่องออกเป็นส่วนๆ เช่น ลูกศร “>” หรือตัวทวิภาค “ : “

หลายปีที่ผ่านมานี้ ตัวคั่นชื่อเรื่อง ที่พวกคุณใช้โดยส่วนมาก มักจะมาจากความชอบส่วนบุคคล

ปัจจุบันนี้ ตัวคั่นชื่อเรื่องที่ใช้กันอยู่มี 2 แบบ คือ ขีดกลาง “----“ ที่ใช้แตกต่างกันไป และตัว ไพป์ (pipe) หรือ ขีดตั้ง “│”

จากการผลการวิเคราะห์ของ Zyppy ถามว่าตอนนี้ Google ให้ความสนใจหรือไม่ ว่าพวกคุณใช้ตัวคั่นหรือเปล่า? คำตอบที่ได้คือ แน่นอน Google ให้ความสนใจเกือบทั้งหมด

สำหรับชื่อเรื่องที่ใช้ ขีดกลาง เป็นตัวแบ่ง จะโดน Google เขียนทับใหม่ และอาจมีเปอร์เซ็นต์โดนลบ ขีดกลาง ถึง 19.7% เลยทีเดียว – และอาจจะเป็นเนื้อหาที่อยู่ในระหว่างวงเล็บ [ ] แบบนี้อีกด้วย

 จากการเปรียบเทียบ จะเห็นได้ว่า ถ้า Google พบเจอชื่อเรื่องไหนที่ใช้ ขีดตั้ง มีสิทธิ์ที่จะโดนลบ/หรือโดนเขียนทับ ถึง 41.0% ในช่วงเวลานั้น – หรืออาจจะโดนสองเท่าเลยก็เป็นได้

บ่อยครั้งที่ Google มักจะเปลี่ยนตัวคั่นแบบ ขีดตั้ง (pipe) “│” ด้วยตัวคั่นแบบอื่น ดูเหมือนว่า ตัวคั่นแบบตั้ง อาจจะไม่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดที่โดนลบไป แต่ถ้าคุณมาใช้ ขีดกลาง แทน รับรองว่าคุณไม่โดน Google เขียนทับใหม่แน่นอน

การใช้ แท็กใน H1 เพื่อป้องกันการโดนเขียนทับของ Google Title Rewrites.
 

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า ตอนนี้ Google จะหันมาพิจารณาองค์ประกอบของ HTML อื่นๆ เวลาที่สร้างหน้าเว็บเพจที่อยู่นอกเหนือจากแท็กชื่อเรื่อง นั่นคือองค์ประกอบที่ดีที่สุดก็คือ แท็ก H1

อันที่จริง พบว่ากลยุทธ์การใช้แท็ก H1 จะสามารถจำกัดจำนวนการเขียนชื่อซ้ำที่ Google อาจดำเนินการเองบนเว็บไซต์ของคุณ ความจริงแล้ว การจับคู่ H1 กับชื่อเรื่องของคุณ มีบ่อยครั้งมากที่จะช่วยลดระดับของการเขียนใหม่ทั่วทั้งหน้าเพจของคุณ

จากตัวอย่าง แท็กชื่อเรื่อง ให้มีจำนวนตัวเลขอย่างน้อย 1 ตัว เช่น (1-9, 2022, 7a เป็นต้น) การที่ไม่มี จำนวนตัวเลขใน H1 เท่าที่เห็นมา หัวข้อเหล่านั้นจะถูก Google เขียนทับใหม่ถึง 25.8%

ในทางตรงกันข้าม ทั้งชื่อเรื่องและหน้า H1 ที่มีตัวเลขอยู่ด้วย Google ได้รวมตัวเลขที่ดูแล้วน่าตกใจ กับชื่อเรื่องที่มีตัวเลขประกอบอยู่ด้วยถึง 97.3%  หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่ง ว่าการเทียบกับชื่อเรื่องและ H1 แล้ว Google จะเขียนขื่อใหม่เพื่อไม่ให้มีตัวเลขในกรณีนี้มีน้อยเพียง 2.3% เท่านั้น

แนวทางแก้ไข

เพื่อลดโอกาสที่ Google จะเขียนทับชื่อเรื่องของคุณใหม่ คือต้องให้หัวเรื่อง H1 และ ชื่อเรื่องต้องสัมพันธ์กันถึงจะเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้ Google เขียนทับชื่อเรื่องของคุณใหม่

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้?