26 ธันวาคม 2022 0 574

เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเว็บไซต์ของเรามีมูลค่าเท่าไหร่?

ไม่ว่าคุณพึ่งจะเริ่มทำบล็อกครั้งแรก หรือมีความคิดที่อยากจะทำบล็อก หรือคุณทำบล็อกมานานแล้ว มันคงจะน่าตื่นเต้นน่าดูถ้าเราสามารถรู้ได้ว่า เว็บไซต์ของเรามีมูลค่าเท่าไหร่ ในบทความนี้ เราจะมาแบ่งปันวิธีประเมินมูลค่าเว็บไซต์ที่ดีที่สุด หรืออย่างน้อยการได้รู้ถึงมูลค่าของมันก็ยังดี กับวิธีของ ริกกี้ เคสเลอร์ (Ricky Kesler) เจ้าของเว็บไซต์ Income School

 

เหตุผลที่คุณอยากจะรู้ว่า เว็บไซต์ของคุณมีมูลค่าเท่าไหร่ คุณอาจจะคิดราคาเอาไว้ ว่าเว็บไซต์ที่คุณทำอยู่มันคุ้มหรือไม่ แต่ส่วนมากเจ้าของเว็บหลายคนมักจะพูดถึงแต่เรื่องที่เว็บไซต์สร้างรายได้ให้เขา แต่พวกเขาก็ไม่ค่อยพูดถึงว่า ถ้าจะต้องประเมินราคาเว็บไซต์ของพวกเขามันจะได้ราคาสักเท่าไหร่? ถ้าสักวันหนึ่งที่พวกเขาต้องตัดสินใจที่จะชาย และนำเงินที่ได้มานั้นไปลงทุนโปรเจคในอนาคต

มันจะช่วยคุณได้มากตอนที่คุณทำเว็บไซต์ แล้วพอถึงจุดหนึ่งที่เว็บไซต์ของคุณไม่ค่อยเป็นที่นิยมแล้ว หรือคุณหมดความสนใจกับโปรเจคตัวนี้แล้ว และคุณกำลังมองหาโปรเจคใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมทำ

เว็บไซต์แรกที่คุณขายอาจจะทำให้คุณมีเงินมากพอ ที่คุณจะไปเริ่มทำสิ่งใหม่ และมันจะทำให้คุณจะต้องมีการวางแผนเกี่ยวกับการเงินสำหรับการเริ่มต้นอีกครั้ง ดังนั้น เรามาเจาะลึกถึงวิธีการหามูลค่าให้เว็บไซต์ของคุณกัน

เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเว็บไซต์ของเรามีมูลค่าเท่าไหร่

ถ้าอยากจะรู้ว่าเว็บไซต์ของคุณมีมูลค่าเท่าไหร่ คุณอาจจะรู้สึกตกใจเมื่อได้ทราบว่าเว็บไซต์ของคุณทำเงินให้มากแค่ไหน เมื่อถึงเวลานั้น มันจะมี 2 องค์ประกอบให้พิจารณาคือ:

  1. กำไร
  2. ความหลากหลาย

องค์ประกอบที่ 1: กำไร

พื้นฐานของกำไร ก็คือเว็บไซต์ทำรายได้ให้คุณมากเท่าไหร่ ก็เอาไปหักกับค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถึงจะเป็นกำไร การคำนวณกำไรก็แค่ทำให้ตรงไปตรงมา สิ่งที่คุณต้องทำก็แค่ต้องทำรายการทุกเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 12 เดือนล่าสุด เพราะเมื่อถึงเวลาที่จะทำการขาย สิ่งที่ผู้ซื้อต้องการจะดูมากที่สุดคือ บันทึกรายได้อย่างน้อย 6 – 12 เดือนที่คุณจะต้องจัดเตรียมให้ผู้ซื้อได้พิจารณา และด้วยระยะเวลาเท่าก็สามารถที่จะประเมินมูลค่าได้แล้ว

คุณจะต้องแสดงรายการกระแสรายรับทั้งหมด และจะต้องแจกแจงที่มาของรายได้นั้นด้วยในแต่ละเดือน และจัดทำบัญชีรายได้ในช่วงระยะเวลานั้น

คุณต้องระบุแหล่งรายได้ทั้งหมดที่คุณมี และทำเครื่องหมายว่ารายได้มาจากสตรีมอะไรในแต่ละเดือนว่าได้เท่าไหร่ แล้วจึงรวมทั้งหมด นั่นเป็นรายได้รวมในระยะเวลานั้น

 

ถ้าเว็บไซต์ของคุณทำรายได้จากโฆษณา อย่างเช่น Ezoic Mediavine หรือ Adsense คุณจะต้องรวบรวมและทำรายการพวกนี้ทุกเดือน คุณสามารถหาแบบฟอร์มรายงานรายรับประจำปีได้ง่ายๆ เหมือนกับรายงานรายรับค่าคอมมิชชั่นของ Affiliate

ทุกรายการที่คุณจัดทำขึ้นจะต้องตรงกับรายการเดินบัญชีธนาคาร และสามารถตรวจสอบได้ถึงที่มาของเงินจำนวนนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่คุณคิดกำลังจะขายเว็บไซต์ ทุกอย่างจะต้องมั่นใจได้ว่าถูกต้อง ตรวจสอบที่มาที่ไปได้ชัดเจนในทุกๆ เดือนด้วยการทำงบรายได้ประจำปี

ต่อไป เราก็จะมาทำรายการค่าใช้จ่าย ในส่วนของค่าใช้จ่าย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้:

  1. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

รายการเหล่านี้จะยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเจ้าของคนใหม่ได้ทำการซื้อเว็บไซต์ไป สิ่งนี้จะแสดงให้คุณได้เห็นว่าเว็บไซต์มีการดำเนินการจริงอย่าง การลงทะเบียนโดเมน หรือรายการลงทะเบียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินเว็บไซต์ อาจจะรวมถึงสิ่งอื่นที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับเว็บไซต์ คุณจึงจำเป็นที่จะต้องลงรายการที่เป็นค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง ทำเป็นคอลัมใส่ไว้ในตาราง excel

  1. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นครั้งเดียว

ในคอลัมถัดไป เราจะใส่รายการที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในแต่ละเดือน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณซื้อคอนเทน หรือรูปภาพจำนวนมากมาเก็บไว้ และคอนเทนต์นั้น เราก็เอามาเผยแพร่บนไซต์ แน่นอนว่าเจ้าของเว็บไซต์ไม่จำเป็นจะต้องจ่ายเพิ่มอีกต่อไป เพราะมันเป็นต้นทุนที่เราซื้อไปแล้ว และจัดอยู่ในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว

 

หลังจากที่คุณออกแบบตารางเรียบร้อยแล้ว คุณจำเป็นที่จะต้องรวมรายการทุกอย่าง และมาหารายได้สุทธิ/กำไรสุทธิ

กำไรเฉลี่ย 12 เดือนล่าสุด

ต่อไป คุณต้องมาหากำไรเฉลี่ย 12 เดือน หรือมากกว่านั้น คุณจะตกแต่งบัญชีเว็บไซต์ของคุณอย่างไรก็ได้ ให้มันออกมาสมเหตุสมผลที่สุด แต่ก็นั่นแหละอย่างที่บอก ว่าคนที่จะซื้อเว็บไซต์ของเรา เขาย่อมอยากรู้รายการเคลื่อนไหวใน 12 เดือนที่ผ่านมา เพื่อที่เขาจะได้พิจารณาว่าเว็บไซต์ของคุณ ช่วงระยะเวลาไหนหรือฤดูไหนมีรายได้เท่าไหร่ สมมุตถ้าคุณแสดงรายการแค่ 6 เดือน และใน 6 เดือนนั้นเป็นช่วงเวลาที่เว็บของคุณทำเงินได้มากสุด ทางผู้ซื้อเขาจะคิดว่าคุณกำลังเอาช่วงเวลานั้นมาประเมิณเสนอขาย ซึ่งมันจะไม่เกิดผลดีกับคุณตามมาทีหลังได้

ยกตัวอย่างเช่น คุณทำเว็บไซต์เกี่ยวกับ กีฬากลางแจ้ง และคุณแสดงรายการแค่เดือนมีนาคม ถึง เดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงมีรายได้เยอะแค่ 6 เดือน แต่คุณไม่แสดงจำนวนรายได้ของ 6 เดือนหลังที่เป็นช่วงนอกเทศกาล เพราะลูกค้าเขาต้องการทราบตัวเลขรายได้ทังหมด 12 เดือน เพื่อเป็นการติดสินใจ ดังนั้นคุณจะต้องลงบัญชีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นช่วงไฮซีซัน หรือโลวซีซัน และทำเป็นกำไรเฉลี่ยต่อเดือนออกมาให้ลูกค้าได้พิจารณา

องค์ประกอบที่ 2: ปัจจัยอื่น

ในส่วนนี้จะค่อนข้างจะเข้าใจยากสักหน่อย เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง แต่มีวิธีที่ดีที่สุดในการค้นหาปัจจัยที่ 4 ในการประเมินมูลค่าของเว็บไซต์ คือลงขายผ่านตลาดออนไลน์บางแห่งที่มีคนซื้อคนขายในเว็บไซต์นั้น อย่างไซต์ Motion Invest ก็ง่ายดีเหมือนกัน เมื่อคุณลงทะเบียนเสร็จแล้ว คุณจะเห็นรายละเอียดการขายของเว็บไซต์ที่ลงเอาไว้ขายมากมาย

 

อย่างที่คุณได้เห็นแหล่งที่มากับรายได้ของ niche กลุ่มต่างๆ บนเว็บไซต์ เพราะถ้ามีเว็บไซต์ไหนที่ต้องการขายเขาจะลงข้อมูลผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ เอาไว้ และคุณยังจะได้เห็นรายได้ต่อเดือน และปัจจัยเพิ่มเติมอื่นๆ ที่ใช้ในการเสนอราคาขายเว็บไซต์ ดังนั้นสิ่งที่คุณจะต้องทำคือ ให้ดูไปที่ไซต์ว่าอันไหนเหมือนกับของคุณ ไม่ใช่เหมือนในเรื่อง niche แต่เหมือนในเรื่องของรายได้

 

คุณคงไม่อยากจะเปรียบเทียบรายได้กับเว็บไซต์อื่น อย่างเช่นเว็บไซต์ที่ทำรายได้ $1,000 ต่อเดือน แต่กับอีกเว็บไซต์ทำรายได้ $20,000 ต่อเดือน เพราะเว็บไซต์ 2 เว็บนั้นมันทำงานต่างกัน จึงทำให้มีรายได้ที่ต่างกัน เพราะมีปัจจัยเกื้อหนุนที่ต่างกัน

ดังนั้น ให้หาดูแค่เว็บไซต์ที่มีรายได้เหมือนของคุณแค่นั้นพอ หลังจากที่เจอเว็บไซต์ที่เหมือนกับคุณแล้ว ก็ให้ทำการหาค่าเฉลี่ยของปัจจัยต่างๆ โดยนำมาปรับใช้กับไซต์ของคุณ และนั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับเว็บไซต์ของคุณก็เป็นได้

อันดับของเว็บไซต์ที่มีการประเมินราคามากที่สุดในปี 2022

จากประสบการณ์ในการขายเว็บไซต์ที่ริคกี้มี เขาสามารถระบุได้ว่า เว็บไซต์ไหนจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 20 – 30 เท่า ก่อนช่วงโควิด พอหลังจากการระบาดของโรค มูลค่าของเว็บไซต์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30-50 เท่า และการจัดอันดับนั้น ได้รับการพิสูจน์จากแหล่งตลาดออนไลน์อย่าง Motion Invest และ Empire Flippers

 

ริกกี้แนะนำว่า ปัจจุบันนี้ ตัวเลขราคาขายของใครที่มากกว่า 30s ขึ้นไป ถือว่าเป็นราคาประเมินที่ดี บางทีอาจจะมากขึ้น 38 เท่าได้

ปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าของเว็บไซต์คุณ

จำเอาไว้ว่า ราคาที่คุณตั้งขายเว็บไซต์ ขึ้นอยู่กับความพอใจและ วิธีการประเมินเว็บไซต์ของผู้ซื้อในเวลานั้นด้วย แต่อย่างไรก็ดี มันมีปัจจัยหลักอย่างอื่น ที่จะช่วยให้คนที่เขาตั้งใจจะซื้อเว็บไซต์ของคุณยินดีที่จะซื้อ ซึ่งปัจจัยที่ว่านั้นคือ:

        1. ฤดูกาล

เราได้พูดถึงกำไรสุทธิตามฤดูกาลที่เราต้องลงในบัญชีไปแล้ว และไม่จำเป็นที่จะต้องปรับแต่งอะไรให้มากมาย แต่อย่างไรก็ดี เมื่อตัวคูณดัชนีเกิดขึ้น ผู้ซื้อก็ยินดีที่จะซื้อไซต์ที่ดูแล้วสถานะมั่นคงกว่าถึงแม้จะมีขึ้นๆ ลงๆ บ้างถ้าไซต์ของคุณเป็นไปตามฤดูกาล คุณจำเป็นที่จะต้องแสดงให้พวกเขาเห็นแนววิถีของการเงินใน 2-3 ปีหลัง

        2. เส้นแนววิถี

เมื่อเวลาผ่านไปเส้นแนววิถีของเว็บไซต์ มีจำนวนคนเข้าเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น เป็นอะไรที่ผู้ซื้อจะให้ความสำคัญ กับเส้นโค้งที่โตขึ้นตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง บางทีแนววิถีอาจจะกำลังไต่ขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ถ้าแนววิถึของไซต์ของคุณมีลักษณะเป็นที่ราบสูง บางทีผู้ซื้ออาจจะประเมินให้ต่ำ เพราะการเติบโตของไซต์ไม่ต่อเนื่อง ทำให้พวกเขาต้องหาอะไรมาใส่เพิ่มเพื่อให้แนววิถึของไซต์มันดีขึ้น บางทีพวกเขาอาจจะให้ข้อเสนอตามอัตราปัจจัยค่าเฉลี่ย หรืออีกทางหนึ่งคือ ถ้าแนววิถีของไซต์คุณเป็นช่วงขาลง มั่นใจได้เลยว่า คุณจะต้องโดนทุบให้ราคาต่ำลงหลายจุดจากปัจจัยอื่นๆ

3. โอกาส

โอกาสในที่นี้หมายถึง โอกาสที่เว็บไซต์ยังมีช่องทางอื่นให้ทำรายได้  โดยที่ผู้ขายยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ไปเสียก่อน และผู้ซื้อสามารถดำเนินการได้ทันที — โดยการทำให้ไซต์มีมูลค่ามากขึ้น ถ้าหากว่าไซต์ของคุณเคยทำรายได้จากการให้ใช้พื้นที่ในการโฆษณา แต่ยังไม่เคยทำรายเกี่ยวกับการตลาดแบบ affiliate อันนี้ถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ซื้อจะได้หาเงินทางนี้เพิ่ม

ผู้ซื้อรายใหม่หรือเจ้าของใหม่ อาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 200% จากการที่ไม่ต้องลงแรงอะไรมาก จากรายได้การตลาดแบบ affiliate ดังนั้น ไซต์ของคุณจะมีมูลค่าสูงขึ้นจากการที่รายได้เพิ่มทวีคูณ

ถ้าคุณรู้ว่าเว็บไซต์ของคุณมีโอกาสที่สร้างรายได้หลายทาง แต่คุณยังไม่เคยทำมันเลย ฉะนั้นคุณสามารถเพิ่มปัจจัยอื่นลงไปได้ หรืออีกทางหนึ่ง ถ้าคุณรู้สึกว่าทำมาหลายวิธีแล้วแต่รายได้ยังไม่เพิ่ม คุณยังมีโอกาสอีก 2-3 ทาง ที่จะทำให้ไซต์ของคุณเติบโตได้ สิ่งที่พื้นฐานที่ผู้ซื้อคนใหม่จะสามารถทำได้คือ การเพิ่มคอนเทนต์บนไซต์ให้มากขึ้นอาจจะทำให้ไซต์ของคุณดูมีพาวเวอร์ขึ้นมาอีกหน่อย

        4. ความเสี่ยง

คุณจะต้องวิเคราะห์ดูว่าเว็บไซต์ หรือเว็บไซต์กลุ่ม niche ของคุณมีความเสี่ยงมากแค่ไหน เพราะผู้ซื้ออาจจะตั้งคำถามมากมาย เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนที่จะซื้อไซต์ของคุณ

  • นี่อาจจะเป็น niche ที่มีความขัดแย้ง และอาจเกิดความไม่นิยม ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า?
  • เคยมีการสร้างลิงก์ที่ใช้ได้จำนวนมากหรือไม่? PBNs เคยถูกสร้างเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าเว็บหรือไม่?
  • จากโปรไฟล์สื่อโซเซียลมีเดียของคุณ เคยหรือไม่ที่อยู่ ๆ ก็มีจำนวนผู้เข้าใช้มากมายในฉับพลัน แต่เจ้าของเว็บไม่สามารถที่จะควบคุมอะไรได้?
  • เคยมีการใช้เทคนิคอะไรที่บิดเบือน ในการสร้างให้มีคนเข้ามาชมเว็บไซต์หรือไม่? ถ้ามี ถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อไซต์ของคุณเป็นอย่างมาก และคุณอาจจะถูกลงโทษจาก Google ได้ ซึ่งเสี่ยงที่อาจจะโดนโจมตีจากการอัปเดทอัลกอลิธึ่ม ที่จะเป็นสาเหตุให้เว็บไซต์ของคุณตกอันดับ หรืออาจจะทำให้ไซต์ของคุณขายไม่ออกก็เป็นได้

สิ่งเหล่านั้นที่กล่าวมาข้างต้น คุณจะต้องพิจารณาให้ดีก่อนที่จะสร้างไซต์ของคุณขึ้นมา พวกเราทุกคนต่างก็ต้องการรายได้เยอะๆ จากเว็บไซต์ของเรา แต่สำหรับการขายเว็บไซต์มันเพียงแค่แนวคิดในอนาคตข้างหน้า สร้างเว็บไซต์ให้มีคนเข้าชมโดยตรง พอเวลาผ่านไปเว็บไซต์ของคุณก็จะเป็นที่ต้องการสูงขึ้นในตลาด

มันจะช่วยสร้างเว็บไซต์ของคุณให้มีมูลค่า และยังช่วยทำให้ขายได้ไวอีกด้วย เมื่อถึงเวลา

หามูลค่าทางการเงินของเว็บไซต์ให้เจอ

การที่จะหามูลค่าของเว็บไซต์ คุณจะต้องทำให้เกิดกำไรทวีคูณ และปัจจัยอื่นๆ สมมุตว่าเราตั้งราคาทวีคูณ 36 เท่า และเว็บไซต์ของเรามีรายได้เฉลี่ยที่ $235 ดอลลาร์/เดือน เมื่อเราเอาทั้งสองมาคูณรวมกัน เว็บไซต์ของเราก็จะมีมูลค่าที่ $8,460 ดอลลาร์ ถือว่าเว็บไซต์ของเราทำเงินได้ดีมาก จากแค่ที่ทำได้ไม่กี่ร้อยดอลลาร์ต่อเดือน 

ลองนึกภาพตัวอย่างดูว่า คุณสร้างบล็อกของตัวเองขึ้นมา แล้วบล๊อกนั้นทำเงินให้คุณเดือนละ $2,000 ดอลลาร์ และภายในเวลาไม่นาน คุณก็มีเว็บไซต์ที่คุณสามารถขายมันไปในราคาที่มากกว่า $84,600 ดอลลาร์ คิดอีกที ก็ไม่แย่นะ ถ้าคุณมีเว็บไซต์ แต่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลมันเท่าไหร่ พอคุณอยากจะขายก็ขายได้ มันทำให้คุณไปคิดทำโปรเจคใหม่ได้อีก

แต่ให้จำไว้ว่า เมื่อเราใส่รายการค่าใช้ของเว็บไซต์ลงไปแล้ว อย่างพวกค่าใช้จ่ายที่เป็นการลงทุนครั้งเดียว ตัวอย่างเช่น คอนเทนต์ หรือซื้อรูปภาพมาเก็บเอาไว้เยอะๆ แต่อย่างไรก็ดี ของพวกนั้นไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นประจำ และเจ้าของเว็บคนใหม่ไม่ต้องไปหาซื้อมันอีกในอนาคต มูลค่าของเว็บไซต์ก็จะเพิ่มขึ้นจาก $8,460 เป็น $21,060 ดอลลาร์ ซึ่งถือว่ากระโดดไปไกลมาก

เพื่อให้ได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้น สิ่งที่คุณจะต้องทำคือ คุณต้องบริหารเว็บไซต์ของคุณด้วยต้นทุนที่ต่ำตามปรกติ โดยใช้เพียงแค่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อเนื่องแค่นั้น และไม่ต้องไปหาจ่ายกับสิ่งใหม่ที่ไม่จำเป็น ปล่อยให้บัญชีเว็บไซต์ของคุณดำเนินการไปสัก 12 เดือน โดยที่บัญชีค่าใช้จ่ายของคุณ ไม่มีรายการค่าใช้จ่าย (ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) พวกนั้นเกิดขึ้นในระหว่าง 12 เดือนนั้น จากนั้นคุณก็ทำการขายเว็บไซต์ของคุณได้เลย 

สรุป

มีข้อได้เปรียบมากมายถ้าหากคุณจะขายเว็บไซต์ แต่คุณจะต้องชั่งน้ำหนักทางเลือกหลายๆ ทางให้ถี่ถ้วน ก่อนที่คุณจะตัดสินใจขายมันไป ทางพวกเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตอนนี้คุณคงจะเข้าใจวิธีการดีแล้ว เพราะเมื่อถึงเวลาที่คุณอยากขายเว็บไซต์ คุณจะต้องคำนวณมูลค่าของมันลงไปด้วย และจะต้องรู้ด้วยว่าจะลงขายเว็บไซต์ที่ไหน ถึงจะคุ้ม

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้?